ชื่อ ด.ช.กฤศณัฏฐ์ ศรีสุวรรณ
ม.2/4 เลขที่ 2
เกิด วันที่ 3พฤศกิกายน พ.ศ. 2540
เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรง
เรียนถาวรานุกูล
ชอบกิน <ทุกอย่างที่ขวางหน้า>
ที่อยู่ 34/ม.9 ต.บางขันเเตก อ.เมือง
จ.สมุทรสงคราม จ. สมุทรสงคราม
ทีมฟุตที่ชอบ chelsea
ศิลปินที่ชอบ Super Junior,2NE1
ม.2/4 เลขที่ 2
เกิด วันที่ 3พฤศกิกายน พ.ศ. 2540
เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรง
เรียนถาวรานุกูล
ชอบกิน <ทุกอย่างที่ขวางหน้า>
ที่อยู่ 34/ม.9 ต.บางขันเเตก อ.เมือง
จ.สมุทรสงคราม จ. สมุทรสงคราม
ทีมฟุตที่ชอบ chelsea
ศิลปินที่ชอบ Super Junior,2NE1
เทคโนโลยีที่น่าสนใจ
เริ่มต้นปีใหม่ 2008 นิตยสารวินแม็ก นำชมเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจ 10 ประการ ซึ่งรวบรวมจาก เทคโนโลยี รีวิว เว็บไซต์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซต (MIT) ซึ่งหน่วยงานที่จับตามองเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งอาจมีผลทบต่อการพานิชย์ สังคม และการเมือง โดยเน้นรูปแบบที่ก้าวไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและแนวโน้มความก้าวหน้า ในหลายโครงการเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและมีโอกาสที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคต ดังนั้นแล้วลองเข้ามาดูกันว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณอย่างไรกันบ้าง
ไฟฟ้านาโน
น้ำมันหรือเชื้อเพลิงแบบฟอสซิลมีราคาแพงขึ้นทุกวัน หลายๆ คนเริ่มคิดหาทางใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์ ติดที่ว่าแผ่นเซลแสงอาทิตย์มีราคาแพงจนไม่คุ้มทุน อาร์เธอร์ โนซิก (Arthur Nozik) นักวิจัยแห่งห้องทดลองสถาบันพลังงานเชื่อว่านาโนเทคโนโลยีอาจมีคำตอบ
เซลแสงอาทิตย์ที่มีขายอยู่ทุกวันนี้ทำจากสารกึ่งตัวนำแบบซิลิกอน สามารถเปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพดีพอสมควร แต่มีขั้นตอนการผลิตที่มีราคาแพง สารกึ่งตัวนำชนิดอื่นๆ แม้จะมีราคาถูกกว่าแต่ก็มีประสิทธิภาพสู้ซิลิกอนไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จุดควอนตัม (Quantum dots) ซึ่งทำจากผลึกสารกึ่งตัวนำเล็กๆ มีขนาดเพียงไม่กี่นาโนเมตรอาจกลายเป็นสิ่งที่ให้พลังไฟฟ้าได้ในราคาต่ำกว่าพลังงานฟอสซิล
เซลแสงอาทิตย์ที่มีขายอยู่ทุกวันนี้ทำจากสารกึ่งตัวนำแบบซิลิกอน สามารถเปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพดีพอสมควร แต่มีขั้นตอนการผลิตที่มีราคาแพง สารกึ่งตัวนำชนิดอื่นๆ แม้จะมีราคาถูกกว่าแต่ก็มีประสิทธิภาพสู้ซิลิกอนไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จุดควอนตัม (Quantum dots) ซึ่งทำจากผลึกสารกึ่งตัวนำเล็กๆ มีขนาดเพียงไม่กี่นาโนเมตรอาจกลายเป็นสิ่งที่ให้พลังไฟฟ้าได้ในราคาต่ำกว่าพลังงานฟอสซิล
เซลแสงอาทิตย์ที่สร้างจากสารซิลิกอนผลิตไฟฟ้าได้เพราะโฟตอนจากแสงกระทบกับอิเล็กตรอนทำให้มันกระเด็นหลุดจากวงโคจรของอะตอม ตอนปลายทศวรรษ 1990 โนซิก ชี้ว่าเมื่อปล่อยแสงที่มีความเข้มสูงใส่จุดควอนตัม จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากวงโคจรได้มากกว่าหนึ่งตัว เมื่อถึงปี 2004 วิกเตอร์ คลิมอฟ (Victor Klimov) แห่งห้องทดลอง ลอส อลามอส ทำการทดลองที่พิสูจน์ว่าทฤษฏีของ โนซิก ถูกต้อง และในปีที่แล้วได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น คือสามารถทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากวงโคจรได้มากถึงเจ็ดตัว
การผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยใช้จุดควอนตัมในเชิงพานิชย์ยังห่างจากความเป็นจริง เพราะพลังงานที่ผลิตได้ไม่สูงพอที่จะใช้ในงานจริง และแสงที่ต้องใช้เป็นแสงแบบความเข้มสูงในย่านเหนือม่วง แต่เมื่อดูจากแนวโน้มในการพัฒนาแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่โครงการนี้จะสำเร็จได้ในอนาคต เมื่อถึงวันนั้นการใช้พลังงานจากฟอสซิลอาจจะกลายเป็นเพียงอดีต
การผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยใช้จุดควอนตัมในเชิงพานิชย์ยังห่างจากความเป็นจริง เพราะพลังงานที่ผลิตได้ไม่สูงพอที่จะใช้ในงานจริง และแสงที่ต้องใช้เป็นแสงแบบความเข้มสูงในย่านเหนือม่วง แต่เมื่อดูจากแนวโน้มในการพัฒนาแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่โครงการนี้จะสำเร็จได้ในอนาคต เมื่อถึงวันนั้นการใช้พลังงานจากฟอสซิลอาจจะกลายเป็นเพียงอดีต
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของเซลได้ถึงระดับแยกย่อยเล็กที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษาโรคที่รักษาได้ยากอย่างมะเร็งและโรคเบาหวานได้ดีขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีความก้าวหน้าในการสำรวจเซลๆ เดียวได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน "ถ้าเป็นเมื่อสักสิบที่ที่แล้ว ผมคงคิดว่าเป็นไปไม่ได้" เป็นคำกล่าวของ โรเบิร์ต เคเนดี (Robert Kennedy) นักวิจัยทางเคมีแห่งมหาวิทยาลัย มิชิแกน-แอน อาร์เบอร์ ผู้ซึ่งกำลังทำวิจัยการฉีดอินซูลินเข้าไปในเซลเพียงเซลเดียวเพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ในขณะเดียวกัน นอร์แมน โดวิชี (Normal Dovichi) นักวิจัยทางเคมีแห่งมหาวิทยาลัย วอชิงตัน ในซีแอตเติล กำลังทำการวิจัยที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เซลเพียงเซลเดียว กำลังประสบความสำเร็จในการแยกแยะโปรตีนรูปแบบต่างๆ ที่ถูกผลิตจากเซลมะเร็งแต่ละเซล
โดวิชีได้เสนอสมมุติฐานที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง เขาเชื่อว่าเมื่อมะเร็งลุกลาม เซลต่างๆ ที่มีชนิดเดียวกันจะมีลักษณะของโปรตีนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง หากความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง การตรวจสอบเพื่อดูว่ามะเร็งมีแนวโน้มที่จะลุกลามหรือไม่จะทำได้ง่ายขึ้น โดยตรวจดูเซลแต่ละเซลว่ามีความเบี่ยงเบนของโปรตีนหรือไม่ โดวิชีกำลังทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยโดยใช้หลักการนี้ หากประสบความสำเร็จจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการต่อกรกับโรคมะเร็ง
เทคนิคที่ใช้เพื่อตรวจดูเซลๆ เดียวเรียกว่า Laser jock ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่ใช้ในโครงการทำฐานข้อมูล DNA ของมนุษย์ (Human Genome Project) เทคนิคนี้แม้จะเผยความแตกต่างระหว่างเซลแต่ละตัวแต่ก็ไม่สามารถจำแนกคุณสมบัติจำเพาะของโปรตีนแต่ละแบบได้ "ตอนนี้เรายังอยู่ในขั้นหัดเดิน" โดวิชีกล่าว "แต่ผมก็หวังว่าในอีกสิบ ยี่สิบ หรือสามสิบปีข้างหน้า ผู้คนจะมองย้อนกลับมาและกล่าวว่านี่เป็นขั้นหัดเดินที่น่าภูมิใจยิ่ง"
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีความก้าวหน้าในการสำรวจเซลๆ เดียวได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน "ถ้าเป็นเมื่อสักสิบที่ที่แล้ว ผมคงคิดว่าเป็นไปไม่ได้" เป็นคำกล่าวของ โรเบิร์ต เคเนดี (Robert Kennedy) นักวิจัยทางเคมีแห่งมหาวิทยาลัย มิชิแกน-แอน อาร์เบอร์ ผู้ซึ่งกำลังทำวิจัยการฉีดอินซูลินเข้าไปในเซลเพียงเซลเดียวเพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ในขณะเดียวกัน นอร์แมน โดวิชี (Normal Dovichi) นักวิจัยทางเคมีแห่งมหาวิทยาลัย วอชิงตัน ในซีแอตเติล กำลังทำการวิจัยที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เซลเพียงเซลเดียว กำลังประสบความสำเร็จในการแยกแยะโปรตีนรูปแบบต่างๆ ที่ถูกผลิตจากเซลมะเร็งแต่ละเซล
โดวิชีได้เสนอสมมุติฐานที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง เขาเชื่อว่าเมื่อมะเร็งลุกลาม เซลต่างๆ ที่มีชนิดเดียวกันจะมีลักษณะของโปรตีนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง หากความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง การตรวจสอบเพื่อดูว่ามะเร็งมีแนวโน้มที่จะลุกลามหรือไม่จะทำได้ง่ายขึ้น โดยตรวจดูเซลแต่ละเซลว่ามีความเบี่ยงเบนของโปรตีนหรือไม่ โดวิชีกำลังทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยโดยใช้หลักการนี้ หากประสบความสำเร็จจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการต่อกรกับโรคมะเร็ง
เทคนิคที่ใช้เพื่อตรวจดูเซลๆ เดียวเรียกว่า Laser jock ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่ใช้ในโครงการทำฐานข้อมูล DNA ของมนุษย์ (Human Genome Project) เทคนิคนี้แม้จะเผยความแตกต่างระหว่างเซลแต่ละตัวแต่ก็ไม่สามารถจำแนกคุณสมบัติจำเพาะของโปรตีนแต่ละแบบได้ "ตอนนี้เรายังอยู่ในขั้นหัดเดิน" โดวิชีกล่าว "แต่ผมก็หวังว่าในอีกสิบ ยี่สิบ หรือสามสิบปีข้างหน้า ผู้คนจะมองย้อนกลับมาและกล่าวว่านี่เป็นขั้นหัดเดินที่น่าภูมิใจยิ่ง"