วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Happy Valentine's day

ประวัติวันวาเลนไทน์


ประวัติวันวาเลนไทน์
เรื่องของวันวาเลนไทน์นี้ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ณ. กรุงโรม หรืออาณาจักรโรมัน ในยุคของ จักรพรรดิคลอดิอุส ที่สอง (Claudius II) โดยที่จักรพรรดิพระองค์นี้ มีนิสัยชอบกดขี่ข่มเหงผู้อื่น  เขาได้สั่งให้ชาวโรมันทุกคน สักการะนับถือพระเจ้า12องค์ โดยผู้ที่ขัดขืนคำสั่ง จะถูกทำโทษ รวมทั้งห้ามยุ่งเกี่ยว กับพวกคริสเตียนด้วย  แต่นักบุญวาเลนตินุส (Valentinus) มีความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระคริสต์มาก เขาได้กล่าวไว้ว่า แม้กระทั่งความตาย ก็ไม่สามารถ เปลี่ยนความคิด ของเขาได้ เขาจึงได้ถูกจับขังคุก


ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้น ได้มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขัง อยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดาย ที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้า ให้เธอฟัง จูเลียสามารถรับรู้สิ่งต่างๆในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของวาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขา และเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา


1
วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า 
"ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม" 
เขาตอบ"พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเรา ทุกคน" 
จูเลียกล่าว"ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไร ทุกๆเช้า  ทุกๆเย็น….ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็น โลก เห็นทุกๆอย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง" 
วาเลนตินุสจึงบอก"พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุด ให้แก่เราทุกคน เพียงแค่ เรามีความเชื่อมั่น ในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง"






จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า จึงได้คุกเข่า กุมมือ อธิษฐานพร้อมกับ วาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้นจูเลียค่อยๆลืมตา พระเจ้า……เธอมองเห็นแล้ว!!!!! เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร
  ในคืนก่อนที่วาเลนตินุส จะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้าย ถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า "From Your Valentine" เขาสิ้นชีพในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจาก นั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บ ไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูก ต้นอามันต์ หรือ อัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สี ชมพู ได้เป็นตัวแทน แห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพ อันสวยงาม
ประวัติวันวาเลนไทน์นี้ เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมา จนถึงปัจจุบัน เท่าที่ค้นหามาได้นี้ เป็นเพียงหนึ่ง ในหลายๆเรื่องเท่านั้น ไม่ว่าประวัติที่แท้จริง จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ในปัจจุบันนี้ เราได้ถือว่า วันวาเลนไทน์ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว คุณสามารถส่งดอกไม้ ขนม และการ์ด เพื่อบอกความนัยให้แก่คนที่พิเศษของคุณ วันนี้จะเป็นวันที่ เราส่งความรู้สึกดีๆ ให้แก่กัน.......

วันวาเลนไทน์

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ

ชื่อ ด.ช.กฤศณัฏฐ์ ศรีสุวรรณ
ม.2/4 เลขที่ 2
เกิด วันที่ 3พฤศกิกายน พ.ศ. 2540


เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรง


เรียนถาวรานุกูล


ชอบกิน <ทุกอย่างที่ขวางหน้า>




ที่อยู่ 34/ม.9 ต.บางขันเเตก อ.เมือง




จ.สมุทรสงคราม จ. สมุทรสงคราม


ทีมฟุตที่ชอบ chelsea


ศิลปินที่ชอบ Super Junior,2NE1







เทคโนโลยีที่น่าสนใจ

เริ่มต้นปีใหม่ 2008 นิตยสารวินแม็ก นำชมเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจ 10 ประการ ซึ่งรวบรวมจาก เทคโนโลยี รีวิว เว็บไซต์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซต (MIT) ซึ่งหน่วยงานที่จับตามองเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งอาจมีผลทบต่อการพานิชย์ สังคม และการเมือง โดยเน้นรูปแบบที่ก้าวไปสู่การพัฒนาระบบเศรษฐกิจและแนวโน้มความก้าวหน้า ในหลายโครงการเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและมีโอกาสที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคต ดังนั้นแล้วลองเข้ามาดูกันว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของคุณอย่างไรกันบ้าง
ไฟฟ้านาโน
      น้ำมันหรือเชื้อเพลิงแบบฟอสซิลมีราคาแพงขึ้นทุกวัน หลายๆ คนเริ่มคิดหาทางใช้พลังงานไฟฟ้าจากเซลแสงอาทิตย์ ติดที่ว่าแผ่นเซลแสงอาทิตย์มีราคาแพงจนไม่คุ้มทุน อาร์เธอร์ โนซิก (Arthur Nozik) นักวิจัยแห่งห้องทดลองสถาบันพลังงานเชื่อว่านาโนเทคโนโลยีอาจมีคำตอบ
เซลแสงอาทิตย์ที่มีขายอยู่ทุกวันนี้ทำจากสารกึ่งตัวนำแบบซิลิกอน สามารถเปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพดีพอสมควร แต่มีขั้นตอนการผลิตที่มีราคาแพง สารกึ่งตัวนำชนิดอื่นๆ แม้จะมีราคาถูกกว่าแต่ก็มีประสิทธิภาพสู้ซิลิกอนไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า จุดควอนตัม (Quantum dots) ซึ่งทำจากผลึกสารกึ่งตัวนำเล็กๆ มีขนาดเพียงไม่กี่นาโนเมตรอาจกลายเป็นสิ่งที่ให้พลังไฟฟ้าได้ในราคาต่ำกว่าพลังงานฟอสซิล
เซลแสงอาทิตย์ที่สร้างจากสารซิลิกอนผลิตไฟฟ้าได้เพราะโฟตอนจากแสงกระทบกับอิเล็กตรอนทำให้มันกระเด็นหลุดจากวงโคจรของอะตอม ตอนปลายทศวรรษ 1990 โนซิก ชี้ว่าเมื่อปล่อยแสงที่มีความเข้มสูงใส่จุดควอนตัม จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากวงโคจรได้มากกว่าหนึ่งตัว เมื่อถึงปี 2004 วิกเตอร์ คลิมอฟ (Victor Klimov) แห่งห้องทดลอง ลอส อลามอส ทำการทดลองที่พิสูจน์ว่าทฤษฏีของ โนซิก ถูกต้อง และในปีที่แล้วได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น คือสามารถทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากวงโคจรได้มากถึงเจ็ดตัว
การผลิตเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์โดยใช้จุดควอนตัมในเชิงพานิชย์ยังห่างจากความเป็นจริง เพราะพลังงานที่ผลิตได้ไม่สูงพอที่จะใช้ในงานจริง และแสงที่ต้องใช้เป็นแสงแบบความเข้มสูงในย่านเหนือม่วง แต่เมื่อดูจากแนวโน้มในการพัฒนาแล้วมีความเป็นไปได้สูงที่โครงการนี้จะสำเร็จได้ในอนาคต เมื่อถึงวันนั้นการใช้พลังงานจากฟอสซิลอาจจะกลายเป็นเพียงอดีต
แอบดูเซลมะเร็งตัวร้าย
     ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของเซลได้ถึงระดับแยกย่อยเล็กที่สุด ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษาโรคที่รักษาได้ยากอย่างมะเร็งและโรคเบาหวานได้ดีขึ้น
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีความก้าวหน้าในการสำรวจเซลๆ เดียวได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน "ถ้าเป็นเมื่อสักสิบที่ที่แล้ว ผมคงคิดว่าเป็นไปไม่ได้" เป็นคำกล่าวของ โรเบิร์ต เคเนดี (Robert Kennedy) นักวิจัยทางเคมีแห่งมหาวิทยาลัย มิชิแกน-แอน อาร์เบอร์ ผู้ซึ่งกำลังทำวิจัยการฉีดอินซูลินเข้าไปในเซลเพียงเซลเดียวเพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด ในขณะเดียวกัน นอร์แมน โดวิชี (Normal Dovichi) นักวิจัยทางเคมีแห่งมหาวิทยาลัย วอชิงตัน ในซีแอตเติล กำลังทำการวิจัยที่มุ่งเน้นไปในการวิเคราะห์เซลเพียงเซลเดียว กำลังประสบความสำเร็จในการแยกแยะโปรตีนรูปแบบต่างๆ ที่ถูกผลิตจากเซลมะเร็งแต่ละเซล
โดวิชีได้เสนอสมมุติฐานที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันอย่างกว้างขวาง เขาเชื่อว่าเมื่อมะเร็งลุกลาม เซลต่างๆ ที่มีชนิดเดียวกันจะมีลักษณะของโปรตีนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง หากความเชื่อนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง การตรวจสอบเพื่อดูว่ามะเร็งมีแนวโน้มที่จะลุกลามหรือไม่จะทำได้ง่ายขึ้น โดยตรวจดูเซลแต่ละเซลว่ามีความเบี่ยงเบนของโปรตีนหรือไม่ โดวิชีกำลังทำงานร่วมกับแพทย์เพื่อพัฒนาการวินิจฉัยโดยใช้หลักการนี้ หากประสบความสำเร็จจะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของความสำเร็จในการต่อกรกับโรคมะเร็ง
เทคนิคที่ใช้เพื่อตรวจดูเซลๆ เดียวเรียกว่า Laser jock ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่ใช้ในโครงการทำฐานข้อมูล DNA ของมนุษย์ (Human Genome Project) เทคนิคนี้แม้จะเผยความแตกต่างระหว่างเซลแต่ละตัวแต่ก็ไม่สามารถจำแนกคุณสมบัติจำเพาะของโปรตีนแต่ละแบบได้ "ตอนนี้เรายังอยู่ในขั้นหัดเดิน" โดวิชีกล่าว "แต่ผมก็หวังว่าในอีกสิบ ยี่สิบ หรือสามสิบปีข้างหน้า ผู้คนจะมองย้อนกลับมาและกล่าวว่านี่เป็นขั้นหัดเดินที่น่าภูมิใจยิ่ง"